การจดทะเบียนรับรองบุตร
เนื่องจากกฎหมายถือว่าเด็กซึ่งเกิดจากหญิงที่มิได้จดทะเบียนสมรสกับชาย เป็นบุตรที่ชอบด้วย
กฎหมายของหญิงแต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 “เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น”
ดังนั้น เด็กที่เกิดมาจึงไม่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา แต่กฎหมายเปิดช่องทางที่จะทำให้บุตรนอกสมรสเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาอยู่ 3 วิธี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547 “เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น”
1. เมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง
2. บิดาได้จดทะเบียนว่าเด็กเป็นบุตร
3. ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
การรับรองบุตร เป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้บุตรนอกสมรสเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาได้ ซึ่งวิธีนี้บิดาสามารถจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรของตนโดยไม่ต้องจดทะเบียนสมรสกับมารดาของเด็ก โดยบิดาสามารถจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรของตนได้ แต่กฎหมายกำหนดเงื่อนไขในการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรต้องได้รับความยินยอมจากเด็กและมารดาของเด็ก โดยเด็กและมารดาต้องไปให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียน แต่หากบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือทั้งสองไม่อาจให้ความยินยอมได้ เช่น มารดาถึงแก่ความตาย หรือเด็กไม่อาจแสดงเจตนาให้ความยินยอมได้ เช่น อายุยังน้อยเกินไปการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 “ บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก
ในกรณีที่เด็กและมารดาเด็กไม่ได้มาให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียน ให้นายทะเบียนแจ้งการขอจดทะเบียนของบิดาไปยังเด็กและมารดาเด็ก ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านหรือไม่ให้ความยินยอมภายในหกสิบวันนับแต่การแจ้งนั้นถึงเด็กหรือมารดาเด็ก ให้สันนิษฐานว่าเด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอม ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กอยู่นอกประเทศไทยให้ขยายเวลานั้นเป็นหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดา หรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล
เมื่อศาลได้พิพากษาให้บิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรได้ และบิดาได้นำคำพิพากษาไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ให้นายทะเบียนดำเนินการจดทะเบียนให้
o เอกสารที่ใช้
1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง (บิดา) และมารดา
2.ทะเบียนบ้านผู้ร้อง มารดา และบุตร
3. 3. สูติบัตรบุตร
4. 4. ใบมรณบัตรมารดา (กรณีมารดาเสียชีวิต)
5. 5. หนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุล ของผู้ร้อง มารดา หรือบุตร (ถ้ามี)
6. 6. ใบสำคัญการหย่าของมารดา (กรณีมารดาเคยจดทะเบียนสมรสมาก่อน)
o เขตศาล/ระยะเวลาดำเนินการ
ยื่นคำร้องต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล หรือต่อศาลที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล
นับแต่วันที่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร ศาลจะนัดไต่สวนคำร้องไม่น้อยกว่า 45 วัน นับแต่วันยื่นคำร้อง และภายในเวลา 15 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องแล้ว ผู้ร้องจะต้องนำบุตรและมารดาของบุตรไปให้ถ้อยคำต่อผู้อำนวยการสถานพินิจฯ เพื่อประมวลและรายงานข้อเท็จจริงเสนอความเห็นต่อศาลประกอบในการพิจารณาคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร
การตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์
บุคคลที่อายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ตามกฎหมายเรียกว่า “ผู้เยาว์” หากผู้เยาว์ต้องทำนิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา แต่ถ้าผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมไม่ได้ จะต้องร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ในการทำนิติกรรม
o ผู้มีอำนาจยื่นคำร้อง
ญาติของผู้เยาว์
2 บุคคลซึ่งบิดาหรือมารดาที่ตายระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้ปกครอง
3 พนักงานอัยการ
o คุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นผู้ปกครอง
1 บรรลุนิติภาวะแล้ว
2 ไม่มีลักษณะต้องห้ามอันได้แก่
· ผู้ซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
· ผู้ซึ่งเป็นบุคคลล้มละลาย
· ผู้ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์หรือทรัพย์สินของผู้เยาว์
· ผู้ซึ่งเคยมีคดีในศาลกับผู้เยาว์ หรือกับผู้บุพการี
· พี่น้องร่วมบิดามารดา หรือพี่น้อง ร่วมแต่บิดามารดาของผู้เยาว์
· ผู้ซึ่งบิดาหรือมารดาที่ตายทำหนังสือระบุชื่อ ห้ามมิให้เป็นผู้ปกครอง
o ยื่นที่ศาลไหน : ศาลเยาวชนและครอบครัวในท้องที่ที่มูลคดีเกิด หรือในท้องที่ที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนา
o เอกสารที่ใช้
ผู้เยาว์ - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน / สำเนาสูติบัตร / สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาหนังสือรับรองการเปลี่ยนชื่อ - สกุล (หากมี)
บิดามารดาผู้เยาว์ - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาใบมรณบัตรของบิดามารดาเดิม (หากมี)
- สำเนาใบสำคัญการสมรส/ใบสำคัญการหย่า (หากมี)
- สำเนาใบสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อ – ชื่อสกุล (หากมี)
ผู้จะเป็นผู้ปกครอง - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน / สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาใบสำคัญการสมรส/ใบสำคัญการหย่า (หากมี)
- ใบสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อ – ชื่อสกุล (หากมี)
- หนังสือให้ความยินยอมของสามี/ภรรยา ของบุคคลที่จะเป็นผู้ปกครอง
ค่าธรรมเนียมศาล : ค่าขึ้นศาล 200 บาท / ค่าส่งคำคู่ความ 500-800
การฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ป.พ.พ. มาตรา 1564 “บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์
บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้”
ค่าเลี้ยงดูบุตร เรียกได้จนกระทั่งบุตรบรรลุนิติภาวะ คือ จนกระทั่งบุตรมีอายุครบ 20 ปี หรือ บุตรจดทะเบียนสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย
ป.พ.พ. มาตรา 1598/38 “ค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภริยา หรือระหว่างบิดามารดากับบุตรนั้นย่อมเรียกจากกันได้ในเมื่อฝ่ายที่ควรได้รับอุปการะเลี้ยงดูไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือได้รับการอุปการะเลี้ยงดูไม่เพียงพอแก่อัตภาพ ค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณี”
ป.พ.พ. มาตรา 1598/39 “เมื่อผู้มีส่วนได้เสียแสดงว่าพฤติการณ์ รายได้ หรือฐานะของคู่กรณีได้เปลี่ยนแปลงไป ศาลจะสั่งแก้ไขในเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูโดยให้เพิกถอน ลด เพิ่ม หรือกลับให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกก็ได้
ในกรณีที่ศาลไม่พิพากษาให้ค่าอุปการะเลี้ยงดู เพราะเหตุแต่เพียงอีกฝ่ายหนึ่งไม่อยู่ในฐานะที่จะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ในขณะนั้น หากพฤติการณ์ รายได้ หรือฐานะของอีกฝ่ายหนึ่งนั้นได้เปลี่ยนแปลงไป และพฤติการณ์รายได้หรือฐานะของผู้เรียกร้องอยู่ในสภาพที่ควรได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดู ผู้เรียกร้องอาจร้องขอให้ศาลเปลี่ยนแปลงคำสั่งในคดีนั้นใหม่ได้”
เรียกย้อนหลังได้หรือไม่ : เรียกย้อนหลังได้ตั้งแต่เด็กเกิด หากบิดาหรือมารดาไม่เคยอุปการะเลี้ยงดูบุตรเลย
มีอายุความ 5 ปี นับแต่วันที่บิดาหรือมารดาได้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูไปเพียงฝ่ายเดียว
ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ฟ้องได้หรือไม่ : สามารถฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากบิดาได้ โดยการยื่นฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไปพร้อมกับการฟ้องรับรองบุตรเป็นคดีเดียวกัน
o เอกสารที่ใช้
1. สูติบัตร
2. ใบสำคัญการหย่า และบันทึกท้ายการหย่า (ถ้ามี)
3. ใบทะเบียนรับรองบุตร (ถ้ามี)
4. บัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้าน บิดา มารดา บุตร
5. ภาพถ่ายความสัมพันธ์ของบิดามารดาและบุตร
6. เอกสารแสดงรายจ่ายของบุตร เช่น ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ค่าเล่าเรียน ค่ารักษาพยาบาล
7. เอกสารแสดงสถานะบิดามารดา เช่น หลักฐานการทำงาน หลักฐานการศึกษา หลักฐานแสดงรายได้
ฟ้องที่ศาลใด : ศาลเยาวชนและครอบครัวที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่
เสียค่าขึ้นศาลเท่าไร : ค่าขึ้นศาล 200 บาท และค่าส่งสำเนาคำร้อง ประมาณ 500 - 800 บาท
การรับบุตรบุญธรรม
การรับบุตรบุญธรรม หมายถึง การรับลูกของคนอื่นมาเลี้ยงดูเสมือนเป็นลูกของตัวเอง ซึ่งจะต้อง จดทะเบียนจึงจะสมบูรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยการรับเด็กเป็น บุตรบุญธรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/27
o คุณสมบัติของผู้จะรับบุตรบุญธรรม และผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม
1. ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ตำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุ แก่กว่าผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี
2. ผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่มีอายุไม่ตำกว่า 15 ปี ต้องให้ความยินยอมด้วยตนเอง
3 . ผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่เป็นผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอม จากบิดาและมารดา หรือผู้ปกครอง
4. ผู้จะรับบุตรบุญธรรม หรือผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรส ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน
5. ผู้เยาว์ที่เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่ จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกในขณะเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่
เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม
o เอกสารที่ต้องใช้
1. บัตรประจำตัวประชาชน ของบุตรบุญธรรม ผู้ร้อง
2. ทะเบียนบ้านของบุตรบุญธรรม ผู้ร้อง
3. ทะเบียนบ้านของบิดามารดาของบุตรบุญธรรม
4. สูติบัตรของบุตรบุญธรรม
5. ใบทะเบียนสมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม (ถ้ามี)
6. หนังสือให้ความยินยอมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม (กรณีมีคู่สมรส)
7. หนังสือให้ความยินยอมของบิดามารดาของบุตรบุญธรรม
8. ใบมรณบัตรของบิดามารดาของบุตรบุญธรรม (กรณีถึงแก่กรรม)
9. เอกสารการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (ถ้ามี)
o ยื่นคำร้องที่ศาลไหน
ให้ยื่นต่อศาลคดีเยาวชนและครอบครัวที่บุตรบุญธรรมหรือผู้รับบุตรบุญธรรมมีภูมิลำเนาอยู่
o ผู้ที่ยื่นคำร้องได้
1. มารดาหรือบิดาของผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม
2. ผู้ประสงค์จะขอรับบบุตรบุญธรรม
3. พนักงานอัยการ
การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่ออจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมแล้ว และมีผลทางคดีกฎหมายดังต่อไปนี้
1. บุตรบุญธรรมมีฐานะเช่นเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รู้บบุตรบุญธรรม
2. ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมในฐานะทายาทโดยชอบธรรม
3. ถ้าบุตรบุญธรรมตายก่อน ผู้รับบุตรบุญธรรมมีสิทธิเรียกเอาทรัพย์่ที่ให้บุตรบุญธรรมคืนได้
o การเลิกรับบุตรบุญธรรม
1. คู่กรณีตกลงเลิกรับบุตรบุญธรรมเอง
2. บุตรบุญธรรมสมรสกบผู้รับบุตรบุญธรรม
3. ฟ้องคดีเลิกรับบุตรบุญธรรมและศาลพิพากษาให้เลิกรับบุตรบุญธรรมได้
การจดทะเบียนรับรองบุตร
เนื่องจากกฎหมายถือว่าเด็กซึ่งเกิดจากหญิงที่มิได้จดทะเบียนสมรสกับชาย เป็นบุตรที่ชอบด้วย
กฎหมายของหญิงแต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 “เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น”
ดังนั้น เด็กที่เกิดมาจึงไม่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา แต่กฎหมายเปิดช่องทางที่จะทำให้บุตรนอกสมรสเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาอยู่ 3 วิธี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547 “เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น”
1. เมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง
2. บิดาได้จดทะเบียนว่าเด็กเป็นบุตร
3. ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
การรับรองบุตร เป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้บุตรนอกสมรสเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาได้ ซึ่งวิธีนี้บิดาสามารถจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรของตนโดยไม่ต้องจดทะเบียนสมรสกับมารดาของเด็ก โดยบิดาสามารถจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรของตนได้ แต่กฎหมายกำหนดเงื่อนไขในการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรต้องได้รับความยินยอมจากเด็กและมารดาของเด็ก โดยเด็กและมารดาต้องไปให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียน แต่หากบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือทั้งสองไม่อาจให้ความยินยอมได้ เช่น มารดาถึงแก่ความตาย หรือเด็กไม่อาจแสดงเจตนาให้ความยินยอมได้ เช่น อายุยังน้อยเกินไปการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 “ บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก
ในกรณีที่เด็กและมารดาเด็กไม่ได้มาให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียน ให้นายทะเบียนแจ้งการขอจดทะเบียนของบิดาไปยังเด็กและมารดาเด็ก ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านหรือไม่ให้ความยินยอมภายในหกสิบวันนับแต่การแจ้งนั้นถึงเด็กหรือมารดาเด็ก ให้สันนิษฐานว่าเด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอม ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กอยู่นอกประเทศไทยให้ขยายเวลานั้นเป็นหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดา หรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล
เมื่อศาลได้พิพากษาให้บิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรได้ และบิดาได้นำคำพิพากษาไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ให้นายทะเบียนดำเนินการจดทะเบียนให้
o เอกสารที่ใช้
1. 1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง (บิดา) และมารดา
2. 2. ทะเบียนบ้านผู้ร้อง มารดา และบุตร
3. 3. สูติบัตรบุตร
4. 4. ใบมรณบัตรมารดา (กรณีมารดาเสียชีวิต)
5. 5. หนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุล ของผู้ร้อง มารดา หรือบุตร (ถ้ามี)
6. 6. ใบสำคัญการหย่าของมารดา (กรณีมารดาเคยจดทะเบียนสมรสมาก่อน)
o เขตศาล/ระยะเวลาดำเนินการ
ยื่นคำร้องต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล หรือต่อศาลที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล
นับแต่วันที่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร ศาลจะนัดไต่สวนคำร้องไม่น้อยกว่า 45 วัน นับแต่วันยื่นคำร้อง และภายในเวลา 15 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องแล้ว ผู้ร้องจะต้องนำบุตรและมารดาของบุตรไปให้ถ้อยคำต่อผู้อำนวยการสถานพินิจฯ เพื่อประมวลและรายงานข้อเท็จจริงเสนอความเห็นต่อศาลประกอบในการพิจารณาคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร
การตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์
บุคคลที่อายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ตามกฎหมายเรียกว่า “ผู้เยาว์” หากผู้เยาว์ต้องทำนิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา แต่ถ้าผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมไม่ได้ จะต้องร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ในการทำนิติกรรม
o ผู้มีอำนาจยื่นคำร้อง
1 ญาติของผู้เยาว์
2 บุคคลซึ่งบิดาหรือมารดาที่ตายระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้ปกครอง
3 พนักงานอัยการ
o คุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นผู้ปกครอง
1 บรรลุนิติภาวะแล้ว
2 ไม่มีลักษณะต้องห้ามอันได้แก่
· ผู้ซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
· ผู้ซึ่งเป็นบุคคลล้มละลาย
· ผู้ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์หรือทรัพย์สินของผู้เยาว์
· ผู้ซึ่งเคยมีคดีในศาลกับผู้เยาว์ หรือกับผู้บุพการี
· พี่น้องร่วมบิดามารดา หรือพี่น้อง ร่วมแต่บิดามารดาของผู้เยาว์
· ผู้ซึ่งบิดาหรือมารดาที่ตายทำหนังสือระบุชื่อ ห้ามมิให้เป็นผู้ปกครอง
o ยื่นที่ศาลไหน : ศาลเยาวชนและครอบครัวในท้องที่ที่มูลคดีเกิด หรือในท้องที่ที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนา
o เอกสารที่ใช้
ผู้เยาว์ - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน / สำเนาสูติบัตร / สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาหนังสือรับรองการเปลี่ยนชื่อ - สกุล (หากมี)
บิดามารดาผู้เยาว์ - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาใบมรณบัตรของบิดามารดาเดิม (หากมี)
- สำเนาใบสำคัญการสมรส/ใบสำคัญการหย่า (หากมี)
- สำเนาใบสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อ – ชื่อสกุล (หากมี)
ผู้จะเป็นผู้ปกครอง - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน / สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาใบสำคัญการสมรส/ใบสำคัญการหย่า (หากมี)
- ใบสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อ – ชื่อสกุล (หากมี)
- หนังสือให้ความยินยอมของสามี/ภรรยา ของบุคคลที่จะเป็นผู้ปกครอง
ค่าธรรมเนียมศาล : ค่าขึ้นศาล 200 บาท / ค่าส่งคำคู่ความ 500-800
การฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ป.พ.พ. มาตรา 1564 “บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์
บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้”
ค่าเลี้ยงดูบุตร เรียกได้จนกระทั่งบุตรบรรลุนิติภาวะ คือ จนกระทั่งบุตรมีอายุครบ 20 ปี หรือ บุตรจดทะเบียนสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย
ป.พ.พ. มาตรา 1598/38 “ค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภริยา หรือระหว่างบิดามารดากับบุตรนั้นย่อมเรียกจากกันได้ในเมื่อฝ่ายที่ควรได้รับอุปการะเลี้ยงดูไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือได้รับการอุปการะเลี้ยงดูไม่เพียงพอแก่อัตภาพ ค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณี”
ป.พ.พ. มาตรา 1598/39 “เมื่อผู้มีส่วนได้เสียแสดงว่าพฤติการณ์ รายได้ หรือฐานะของคู่กรณีได้เปลี่ยนแปลงไป ศาลจะสั่งแก้ไขในเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูโดยให้เพิกถอน ลด เพิ่ม หรือกลับให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกก็ได้
ในกรณีที่ศาลไม่พิพากษาให้ค่าอุปการะเลี้ยงดู เพราะเหตุแต่เพียงอีกฝ่ายหนึ่งไม่อยู่ในฐานะที่จะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ในขณะนั้น หากพฤติการณ์ รายได้ หรือฐานะของอีกฝ่ายหนึ่งนั้นได้เปลี่ยนแปลงไป และพฤติการณ์รายได้หรือฐานะของผู้เรียกร้องอยู่ในสภาพที่ควรได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดู ผู้เรียกร้องอาจร้องขอให้ศาลเปลี่ยนแปลงคำสั่งในคดีนั้นใหม่ได้”
เรียกย้อนหลังได้หรือไม่ : เรียกย้อนหลังได้ตั้งแต่เด็กเกิด หากบิดาหรือมารดาไม่เคยอุปการะเลี้ยงดูบุตรเลย
มีอายุความ 5 ปี นับแต่วันที่บิดาหรือมารดาได้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูไปเพียงฝ่ายเดียว
ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ฟ้องได้หรือไม่ : สามารถฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากบิดาได้ โดยการยื่นฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไปพร้อมกับการฟ้องรับรองบุตรเป็นคดีเดียวกัน
o เอกสารที่ใช้
1. สูติบัตร
2. ใบสำคัญการหย่า และบันทึกท้ายการหย่า (ถ้ามี)
3. ใบทะเบียนรับรองบุตร (ถ้ามี)
4. บัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้าน บิดา มารดา บุตร
5. ภาพถ่ายความสัมพันธ์ของบิดามารดาและบุตร
6. เอกสารแสดงรายจ่ายของบุตร เช่น ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ค่าเล่าเรียน ค่ารักษาพยาบาล
7. เอกสารแสดงสถานะบิดามารดา เช่น หลักฐานการทำงาน หลักฐานการศึกษา หลักฐานแสดงรายได้
ฟ้องที่ศาลใด : ศาลเยาวชนและครอบครัวที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่
เสียค่าขึ้นศาลเท่าไร : ค่าขึ้นศาล 200 บาท และค่าส่งสำเนาคำร้อง ประมาณ 500 - 800 บาท
การรับบุตรบุญธรรม
การรับบุตรบุญธรรม หมายถึง การรับลูกของคนอื่นมาเลี้ยงดูเสมือนเป็นลูกของตัวเอง ซึ่งจะต้อง จดทะเบียนจึงจะสมบูรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยการรับเด็กเป็น บุตรบุญธรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/27
o คุณสมบัติของผู้จะรับบุตรบุญธรรม และผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม
1. ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ตำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุ แก่กว่าผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี
2. ผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่มีอายุไม่ตำกว่า 15 ปี ต้องให้ความยินยอมด้วยตนเอง
3 . ผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่เป็นผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอม จากบิดาและมารดา หรือผู้ปกครอง
4. ผู้จะรับบุตรบุญธรรม หรือผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรส ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน
5. ผู้เยาว์ที่เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่ จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกในขณะเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่
เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม
o เอกสารที่ต้องใช้
1. บัตรประจำตัวประชาชน ของบุตรบุญธรรม ผู้ร้อง
2. ทะเบียนบ้านของบุตรบุญธรรม ผู้ร้อง
3. ทะเบียนบ้านของบิดามารดาของบุตรบุญธรรม
4. สูติบัตรของบุตรบุญธรรม
5. ใบทะเบียนสมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม (ถ้ามี)
6. หนังสือให้ความยินยอมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม (กรณีมีคู่สมรส)
7. หนังสือให้ความยินยอมของบิดามารดาของบุตรบุญธรรม
8. ใบมรณบัตรของบิดามารดาของบุตรบุญธรรม (กรณีถึงแก่กรรม)
9. เอกสารการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (ถ้ามี)
o ยื่นคำร้องที่ศาลไหน
ให้ยื่นต่อศาลคดีเยาวชนและครอบครัวที่บุตรบุญธรรมหรือผู้รับบุตรบุญธรรมมีภูมิลำเนาอยู่
o ผู้ที่ยื่นคำร้องได้
1. มารดาหรือบิดาของผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม
2. ผู้ประสงค์จะขอรับบบุตรบุญธรรม
3. พนักงานอัยการ
การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่ออจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมแล้ว และมีผลทางคดีกฎหมายดังต่อไปนี้
1. บุตรบุญธรรมมีฐานะเช่นเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รู้บบุตรบุญธรรม
2. ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมในฐานะทายาทโดยชอบธรรม
3. ถ้าบุตรบุญธรรมตายก่อน ผู้รับบุตรบุญธรรมมีสิทธิเรียกเอาทรัพย์่ที่ให้บุตรบุญธรรมคืนได้
o การเลิกรับบุตรบุญธรรม
1. คู่กรณีตกลงเลิกรับบุตรบุญธรรมเอง
2. บุตรบุญธรรมสมรสกบผู้รับบุตรบุญธรรม
3. ฟ้องคดีเลิกรับบุตรบุญธรรมและศาลพิพากษาให้เลิกรับบุตรบุญธรรมได้